24 กรกฎาคม 2566
สินเชื่อหมุนเวียนเพื่อธุรกิจ Digital Factoring ด้วยเครื่องมือบริหารสภาพคล่อง
ปัจจุบันการทำธุรกรรมการเงินและสินเชื่อต่างๆโดยส่วนใหญ่จะให้บริการกับกลุ่มธุรกิจหรือกิจการขนาดใหญ่เท่านั้น บริการ Factoring เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอีในการเพิ่มสภาพคล่องจากการใช้ประโยชน์จากสิทธิการรับเงินลูกหนี้การค้าที่ผู้ประกอบการมีอยู่ โดยผู้ประกอบการสามารถขายลดสิทธิการรับเงินดังกล่าวเพื่อเปลี่ยนเป็นเงินทุนหมุนเวียน ซึ่ง Factoring มีศักยภาพเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เข้าถึงแหล่งเงินทุนหมุนเวียนเพื่อเพิ่มสภาพคล่องได้ ซึ่งใบวางบิลหรือเอกสารลูกหนี้การค้าต่างๆมีคุณค่ามาก แต่ที่ผ่านมาไม่มีระบบดิจิทัลทำให้เอกสารเหล่านั้นใช้เวลาในการประมวลผลค่อนข้างสูงและมีความเสี่ยงถูกปลอมแปลงเอกสาร ธปท.และหลายภาคส่วนจึงร่วมผลักดันให้เกิด “Digital Factoring Platform” โดยการสร้างฐานข้อมูลกลางเพื่อสนับสนุนให้เกิด Digital Factoring
ในประเทศไทยการให้บริการ Factoring ยังจำกัดอยู่เฉพาะสถาบันการเงินรายใดรายหนึ่ง โดยยังไม่มีรูปแบบของโครงสร้างพื้นฐานกลาง อีกทั้งส่วนใหญ่ผู้ที่ได้รับสินเชื่อมักจะเป็น Supplier รายใหญ่ของบริษัทขนาดใหญ่ที่มีสินเชื่ออยู่กับธนาคารพาณิชย์แห่งนั้น ซึ่งทำให้ Supplier รายเล็กไม่สามารถเข้าถึงหรือไม่สามารถเลือกทำ Factoring กับสถาบันการเงินแห่งอื่นได้ นอกจากนี้ยังมีปัญหา Information Asymmetry ในแง่ของการตรวจสอบการมีอยู่จริงของเอกสารใบแจ้งหนี้
ระบบ Digital Factoring มีกระบวนการที่ครอบคลุมทุกขั้นตอนของการขอสินเชื่อ Digital Factoring ไว้ด้วยกัน เพื่อให้กระบวนการอนุมัติตั้งแต่ต้นและจบกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นระบบการรู้จักตัวตนลูกค้า (Know Your Customer: e-KYC) เพื่อพิสูจน์ตัวตนว่ามีจริงและป้องกันการแอบอ้างบุคคลอื่น ระบบบัญชีออนไลน์ (online accounting / Enterprise Resource Planning: ERP) ระบบชำระเงินดิจิทัล และการโอนสิทธิอัตโนมัติเพื่อลดภาระของผู้ซื้อ
เมื่อใบแจ้งหนี้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล กระบวนการที่เกี่ยวข้อง เช่น การยืนยันความถูกต้องของใบแจ้งหนี้ การแจ้งรับโอนสิทธิ การเงิน และกระบวนการชำระเงิน ก็สามารถบริหารจัดการในรูปแบบดิจิทัลได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะช่วยลดภาระของทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นตัว SMEs ผู้ขายเองที่จะมีแหล่งสภาพคล่องในต้นทุนต่ำไว้เลือกใช้ ผู้ซื้อก็สามารถยืนยันความถูกต้องของใบแจ้งหนี้ดิจิทัลผ่านระบบบัญชีออนไลน์ และสามารถชำระเงินผ่านระบบดิจิทัลได้ และผู้ให้บริการ Factoring ก็หมดกังวลเรื่องการฉ้อโกงและการปล่อยสินเชื่อซ้ำซ้อนถือว่าเป็นธุรกรรมสินเชื่อที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาสร้างแรงจูงใจ และคาดว่าทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกันด้วยระบบนิเวศดิจิทัลที่สมบูรณ์ ธปท. จึงสร้างโครงสร้างพื้นฐานกลางที่มีต้นทุนต่ำเข้าถึงง่าย และปลอดภัย เพื่อยกระดับธุรกรรม Factoring ให้เกิดขึ้นในรูปแบบดิจิทัลด้วย
(1) ฐานข้อมูล Central Web Service (CWS) โดยจะบันทึกและตรวจสอบสถานะของใบแจ้งหนี้ เพื่อลดความเสี่ยงในการขอสินเชื่อซ้ำซ้อน อีกทั้งยังเปิดกว้างตามหลักการ open architecture โดยไม่จำกัดว่าผู้ที่มาเชื่อมต่อจะต้องเป็นผู้ให้บริการ Factoring แบบดั้งเดิมเท่านั้น แต่เปิดโอกาสให้ใช้ฐานข้อมูล CWS เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มที่ทำหน้าที่เป็น marketplace สำหรับสินเชื่อ Factoring ซึ่งจะสนับสนุนให้มีการแข่งขันของผู้ให้บริการ ทั้งด้านเงื่อนไขการให้สินเชื่อและ ด้านราคา
(2) มาตรฐานใบแจ้งหนี้ดิจิทัล (Digital Invoice) สำหรับธุรกรรม Factoring มีเป้าหมาย ที่จะขจัดปัญหาการฉ้อโกงออกจากระบบด้วยการลดความเสี่ยงในการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เพิ่มประสิทธิภาพในการส่งต่อเอกสารได้อย่างสะดวก และยืนยันความถูกต้องของใบแจ้งหนี้ดิจิทัลด้วย Digital Signature ซึ่งใบแจ้งหนี้ดิจิทัลนี้ สามารถทำผ่านระบบบัญชีออนไลน์หรือผ่านเว็บไซต์กลางของผู้ให้บริการ
เมื่อใบแจ้งหนี้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล กระบวนการที่เกี่ยวข้อง อาทิ การยืนยันความถูกต้องของใบแจ้งหนี้ การแจ้งรับโอนสิทธิ การเงิน และกระบวนการชำระเงิน ก็สามารถบริหารจัดการในรูปแบบดิจิทัลได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะช่วยลดภาระของทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นตัว SMEs ผู้ขายเองที่จะมีแหล่งสภาพคล่องในต้นทุนต่ำไว้เลือกใช้ ผู้ซื้อก็สามารถยืนยันความถูกต้องของใบแจ้งหนี้ดิจิทัลผ่านระบบบัญชีออนไลน์ และสามารถชำระเงินผ่านระบบดิจิทัลได้ และผู้ให้บริการ Factoring จะหมดกังวลเรื่องการฉ้อโกงและการปล่อยสินเชื่อซ้ำซ้อนถือว่าเป็นธุรกรรมสินเชื่อที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาสร้างแรงจูงใจ
ทั้งนี้การให้บริการ e-Factoring บริษัทได้ร่วมมือกับสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย, บริษัท ไอเอฟเอส แคปปิตอล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในการให้คำแนะนำและนำเสนอบริการสินเชื่อ Factoring ในอัตราดอกเบี้ยที่แต่ละสถาบันการเงินกำหนด ซึ่งหากผู้ประกอบการ SMEs ได้รับวงเงินสินเชื่อเรียบร้อยแล้วจะสามารถดำเนินการยื่นใบแจ้งหนี้อิเล็กทรอนิกส์เบิกใช้สินเชื่อ Factoring ของแต่ละสถาบันการเงิน ผ่าน e-Factoring Platform ที่บริษัทฯได้พัฒนาขึ้นได้ อีกทั้งยังมีความร่วมมือทางธุรกิจกับบริษัทผู้พัฒนาซอฟแวร์บัญชีและการเงิน ในการ Integrate ระบบ e-Tax Invoice และ e-Factoring Platform ให้อยู่ในรูปแบบ One Stop Service ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจและผู้ประกอบการ SMEs ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้โดยง่ายรวดเร็วและน่าเชื่อถือ พร้อมทั้งขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาคธุรกิจขนาดเล็กให้เติบโตไปพร้อมกัน